วิเคราะห์สามัคคีเภทคำฉันท์
วิเคราะห์ตัวละคร
1.พระเจ้าอชาตศัตรู
ทรงมีพระเมตตาต่อพสกนิกรของพระองค์ ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง บ้านเมืองได้รับการทำนุบำรุงจนกระทั่งมีแสนยานุภาพ ประชาชนสุขสงบ มีมหรสพให้บันเทิง ทรงมีพระราชดำริจะแผ่พระบรมเดชานุภาพ โดยจะกรีธาทัพไปตีแคว้นวัชชี ทรงมีความรอบคอบ
2.วัสสการพราหมณ์
วัสสการพราหมณ์เป็นปุโรหิตแห่งแคว้นมคธ เป็นผู้เฉลียวฉลาดและรอบรู้ศิลปศาสตร์ รักชาติบ้านเมือง ยอมเสียสละเพื่อประเทศชาติ เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูทรงปรึกษากับวัสสการพราหมณ์เรื่องที่จะทรงแผ่พระบรมเดชานุภาพเอาเมืองวัชชีไว้ในครอบครองและวัสสการพราหมณ์กราบทูลกลอุบายและวิธีการนั้น วัสสการพราหมณ์จะต้องกราบทูลขัดแย้งพระราชดำริของพระเจ้าอชาตศัตรูทำให้ถูกลงพระราชอาญาอย่างหนัก แต่วัสสการพราหมณ์ก็ยอมรับ ทั้งนี้เพื่อจะได้ไปอาศัยอยู่ที่แคว้นวัชชีและดำเนินอุบายทำลายความสามัคคีได้สะดวก จงรักภักดีต่อพระเจ้าอชาตศัตรู วัสสการพราหมณ์เป็นคนเฉลียวฉลาด มีไหวพริบและรอบคอบในการดำเนินกลอุบายด้วยความเฉียบแหลมลึกซึ้ง รู้การควรทำและไม่ควรทำ รอจังหวะและโอกาส การดำเนินงานจึงมีขั้นตอน มีระยะเวลา นับว่าเป็นคนมีแผนงาน ใจเย็น ดำเนินงานด้วยความรอบคอบ มีสติ เป็นคุณลักษณะที่ทำให้วัสสการพราหมณ์ดำเนินกลอุบายจนสำเร็จผล เห็นได้ชัดเจนในขณะที่วัสสการพราหมณ์เข้าเฝ้าฯกษัตริย์ลิจฉวีและได้กล่าวสรรเสริญน้ำพระราชหฤทัยกษัตริย์ลิจฉวีทำให้เกิดความพอพระราชหฤทัย มีความรอบคอบ แม้ว่าวัสสการพราหมณ์จะรู้ชัดว่าบรรดากษัตริย์ลิจฉวีแตกความสามัคคีกันแล้ว แต่ด้วยความรอบคอบก็ลองตีกลองเรียกประชุม บรรดากษัตริย์ลิจฉวีก็ไม่เสด็จมาประชุมกันเลย ความเพียร วัสสการพราหมณ์ใช้เวลา ๓ ปีในการดำเนินการเพื่อให้เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีแตกสามัคคีกันซึ่งนับว่าต้องใช้ความเพียรอย่างมาก
3 กษัตริย์ลิจฉวี
ทรงตั้งมั่นในธรรม กษัตริย์ลิจฉวีล้วนทรงยึดมั่นในอปริหานิยธรรม (ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม) ๗ ประการ ขาดวิจารณญาณ ทรงเชื่อพระโอรสของพระองค์ที่ทูลเรื่องราวซึ่งวัสสการพราหมณ์ยุแหย่โดยไม่ทรงพิจารณา ทิฐิเกินเหตุ แม้เมื่อบ้านเมืองกำลังจะถูกศัตรูรุกราน
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
ใช้ฉันทลักษณ์ได้อย่างงดงามเหมาะสม โดยเลือกฉันท์ชนิดต่าง ๆ มาใช้สลับกันตามความเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง จึงเกิดความไพเราะสละสลวย
ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เห็นภาพชัดเจน ดัดแปลงฉันท์บางชนิดให้ไพเราะยิ่งขึ้น เช่น เพิ่มสัมผัสบังคับคำสุดท้ายของวรรคแรกกับคำที่ 3 ของวรรคที่ 2 ในฉันท์ 11 ฉันท์ 12 และฉันท์ 14 เป็นที่นิยมแต่งตามมาถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ นายชิต บุรทัต ยังเพิ่มลักษณะบังคับ ครุ ลหุ สลับกันลงในกาพย์สุรางคนาง 28 ให้มีจังหวะคล้ายฉันท์ด้วย
มีการใช้อุปมาอุปไมย
การเปรียบเทียบแบบอุปมาอุปไมย ได้แก่ การนำของสองสิ่งที่มีลักษณะคล้ายกันมาเปรียบเทียบกันโดยมีคำว่า ดุจ เหมือน คล้าย ปานประหนึ่ง เป็นคำเชื่อม สิ่งที่นำมาเปรียบเทียบเรียกว่าอุปมา สิ่งที่รับเปรียบเทียบเรียกว่าอุปไมย
เช่น ตอนพระเจ้าอชาตศัตรูกริ้ววัสสการพราหมณ์
“กลกะกากะหวาดขมังธนู บห่อนจะเห็นธวัชริปู สิล่าถอย”
วัสสการพราหมณ์เปรียบน้ำพระราชหฤทัยกษัตริย์ลิจฉวี
“เมตตาทยาลุศุภกรรม อุปถัมภการุณย์
สรรเสริญเจริญพระคุณสุน ทรพูนพิบูลงาม
เปรียบปานมหรรณพนที ทะนุที่ประทังความ
ร้อนกายกระหายอุทกยาม นรหากประสบเห็น
การสรรคำ
เล่นสัมผัสในทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษรอย่างไพเราะ เช่น คะเนกล – คะนึงการ ระวังเหือด – ระแวงหาย ใช้คำง่าย ๆ ในการเล่าเรื่อง ทำให้ดำเนินเรื่องได้รวดเร็ว และผู้อ่านเข้าใจเรื่องได้ทันที
ใช้คำง่าย ๆ ในการบรรยายและพรรณนาดัวละครได้อย่างกระชับ และสร้างภาพให้เห็นได้อย่างชัดเจน
คุณค่าด้านเนื้อหา
นายชิต บุรทัต แต่งเรื่องนี้ขึ้น โดยมุ่งชี้ให้เห็นความสำคัญของความสามัคคี เพื่อบ้านเมืองเป็นปึกแผ่นมั่นคง แต่ในปัจจุบันกระแสชาตินิยมลดลง แต่ความสามัคคีก็เป็นหลักธรรมสำคัญในการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ วรรณคดีเรื่องนี้จึงเป็นเนื้อหาที่มีคติสอนใจทันสมัยอยู่เสมอ
ด้านจริยธรรม เน้นถึงหลักธรรม อปริหานิยธรรม ซึ่งเป็นธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เน้นถึงความสำคัญของการใช้สติปัญญาตริตรอง และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยไม่ต้องใช้กำลัง
ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
1. การขาดการพิจารณาไตร่ตรอง นำไปซึ่งความสูญเสีย ดังเช่น เหล่ากษัตริย์ลิจฉวี
ขาดความสามารถในการใช้ปัญญาตริตรองพิจารณาสอบสวน และใช้เหตุผล
จึงหลงกลของวัสสการพราหมณ์ ถูกยุแหย่ให้แตกความสามัคคีจนเสียบ้านเสียเมือง เพราะฉะนั้น การใช้วิจารณญาณไตร่ตรองก่อนทำการใด ๆ จึงเป็นสิ่งที่ดี
2. การเลือกใช้บุคคลให้เหมาะสมกับงานจะทำให้งานสำเร็จได้ด้วยดี
3. การถือความคิดของตนเป็นใหญ่และทะนงตนว่าดีกว่าผู้อื่น ย่อมทำให้เกิดความเสียหายแก่ส่วนรวม
4.การไม่ยึดมั่นในธรรมอันดีที่เคยปฏิบัติมาส่งผลให้เกิดสิ่งที่ไม่ดีต่างๆ เช่นการที่ชาวบ้านแคว้นวชชีไม่ยึดมั้นในหลักธรรม อปริหารนิยธร ทำให้เกิดความแตกแยก จนทำให้ต้องสูญเสียแคว้นวัชชี